วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558



Rockefeller Center

แหล่งของธุรกิจและความบันเทิงแห่งนี้นับว่าเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของแมนฮัตตัน และได้รับการพิจารณาว่ามีความยิ่งใหญ่อลังการเมื่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงปลายทศวรรษ 1930

ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ ในมิดทาวน์ แมนฮัตตัน ช่วยเสริมความยิ่งใหญ่ให้แก่นิวยอร์กในช่วงทศวรรษ 1930 เป็นการผสมผสานระหว่างความเก่าและความใหม่ และเป็นศูนย์กลางของการจัดงานเฉลิมฉลองวันหยุดประจำปีของเมือง

ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์สร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี 1930 ถึง 1939 ในรูปแบบที่มีการแผ่ขยายอย่างไม่เป็นระเบียบนัก ในช่วงเวลานั้น ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ปฏิวัติวงการ อันสะท้อนถึงความเป็นนวัตกรรมและความก้าวหน้า ท่ามกลางยุคภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์เปรียบเสมือนเป็น "เมืองอยู่ภายในเมือง" อาคารได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเพรียวและทันสมัย อีกทั้งเป็นที่ตั้งของบริษัทหลายแห่งที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ในปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ยังคงเป็นแหล่งศูนย์รวมของแมนฮัตตัน โดยประกอบด้วยอาคารพาณิชย์และอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 19 อาคาร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หลายช่วงตึก

ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ยังเป็นตัวอย่างสะท้อนศิลปะแบบอาร์ตเดคโค และนำเสนอสถานที่น่าสนใจหลากหลายแห่ง ไปเที่ยวที่สตูดิโอของ NBC ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก จับจองตั๋วเพื่อชมการแสดงอันเลื่องชื่อของ Rockettes หรือชมคอนเสิร์ตที่ Radio City Music Hall ในระหว่างฤดูกาลแห่งเทศกาลวันหยุด อย่าลืมแวะไปชมต้นคริสต์มาสมหึมาที่สูงถึง 100 ฟุต ลานสเก็ตน้ำแข็งที่เปล่งประกายเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเมษายน

การเดินทางไปที่เซ็นเตอร์แห่งนี้ไม่ว่าจะในช่วงเวลาใดของปี ควรเริ่มต้นที่การไปเยือนดาดฟ้าสังเกตการณ์ Top of the Rock เพื่อชมวิวเมืองในระดับ 360 องศา ก่อนที่จะเดินทางถึงชั้นดาดฟ้าสังเกตการณ์ด้วยลิฟต์สกายชัทเทิล อย่าลืมแวะไปชมนิทรรศการถาวรที่จัดแสดงภาพถ่ายและสิ่งประดิษฐ์ที่ชั้นลอย (เมื่อคุณขึ้นไปอยู่ที่ชั้นบนสุดแล้ว คุณจะไม่สามารถกลับลงมาที่ส่วนนิทรรศการได้) ชั้นสำหรับชมวิวมีความสูงระดับตึก 70 ชั้น เปิดให้บริการทุกวัน เพื่อให้ชมทิวทัศน์แสนสวยของตึกเอ็มไพร์สเตทและอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพที่อยู่ทางตอนใต้ รวมทั้งสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์คที่อยู่ทางตอนเหนือ

ที่ 30 ร็อคกี้เฟลเลอร์พลาซ่า ซึ่งอยู่ใจกลางของกลุ่มอาคาร บรรดาแฟนรายการโทรทัศน์สามารถเข้าร่วมทัวร์ชมเบื้องหลังการถ่ายทำที่สตูดิโอต่างๆ ของ NBC ทัวร์จัดขึ้นในทุกๆ 15 นาที เพื่อให้ผู้เข้าชมร่วมค้นหาว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้รายการต่างๆ อย่างเช่น “NBC Nightly News” และ “Saturday Night Live” มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ของร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ สำหรับผู้ที่หลงใหลในประวัติศาสตร์ มีตั๋วจำหน่ายสำหรับการเข้าร่วมทัวร์อาคารเจนเนอรัล อิเลคทริคเป็นประจำทุกวัน ในทัวร์ จะมีไกด์คอยอธิบายถึงประวัติศาสตร์และความงดงามทางศิลปะของเซ็นเตอร์แห่งนี้

หลังจากเที่ยวชมเสร็จแล้ว คุณสามารถไปเติมพลังได้ที่ร้านกาแฟและร้านอาหารที่มีอยู่มากมายบนชั้นโถงกลางที่อยู่ด้านล่าง หรือเลือกเดินเล่นออกไปยังถนนฟิฟท์อะเวนิวก็ได้

ร็อคกี้เฟลเลอร์พลาซ่าตั้งอยู่ในมิดทาวน์ และอยู่ในเส้นทางที่มีรถประจำทางและรถไฟฟ้าใต้ดินหลายสายผ่าน

cr: https://www.expedia.co.th/Rockefeller-Center-New-York.d502076.Place-To-Visit



จอห์นแฮนคอค์กเซนเตอร์ (อังกฤษJohn Hancock Center) เป็นตึกระฟ้าในอเมริกาสูงเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีความสูง 344 เมตร หรือ 1,127 ฟุต และมีทั้งหมด 100 ชั้น มีพื้นที่กว่า 2 แสน 6 หมื่นตารางเมตร ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัย ภัตตาคารและสำนักงาน ตั้งอยู่ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศอเมริกา


สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก
 (อังกฤษArt Institute of Chicago หรือ AIC) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโกในสหรัฐอเมริกา สถาบันศิลปะเป็นพิพิธภัณฑมีชื่อเสียงเกี่ยวกับงานสะสมในลัทธิประทับใจและลัทธิประทับใจยุคหลังที่ดีที่สุดสถาบันหนึ่งในโลก นอกจานั้นก็ยังมีงานชิ้นสำคัญ ๆ ของศิลปินชั้นครูในประวัติศาสตร์ศิลปะเป็นจำนวนมาก, ศิลปะอเมริกัน, ศิลปะตกแต่งของทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา, ศิลปะเอเชียศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัย สถาบันศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนสถาบันศิลปะแห่งชิคาโกที่มีเนื้อที่หนึ่งล้านตารางฟุต และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่เป็นที่สองของสหรัฐอเมริการองจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนครนิวยอร์ก

cr: wikipedia





นครชิคาโก้ จัดงานเฉลิมฉลองวันเซนต์แพทริกประจำปี 2015 ครั้งที่ 53 อย่างยิ่งใหญ่เหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมาล่วงหน้าก่อนถึงวันเซนต์แพทริก 17 มีนาคม ที่จะถึงนี้ ด้วยการย้อมแม่น้ำชิคาโก้เป็นสีเขียวมรกตก่อนเริ่มขบวนพาเหรดนำโดยนักดนตรีเป่าปี่สก็อตไปพร้อมกับวงโยธวาทิต และ มีผู้เข้าร่วมเดินขบวนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ นักดับเพลิง และ บุคลากรจากองค์กรของชาวไอริช เดินขบวนผ่านถนนหายสายในนครชิคาโก้ ท่ามกลางสภาพอากาศที่อบอุ่นและท้องฟ้าแจ่มใส โดยมีชาวอเมริกันและนักท่องเที่ยวนับแสนคน แต่งตัวชุดสีเขียวซึ่งเป็นสีประจำเทศกาลยืนชมและส่งเสียงให้กำลังใจขบวนพาเหรดเต็มสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับ วันเซนต์แพทริก เป็นวันสำคัญที่สุดทางศาสนาคริสต์ของประเทศไอร์แลนด์ และ ยังเป็นการเฉลิมฉลองที่เชื่อมโยงชาวไอริชทั่วโลกให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยสัญลักษณ์ของวันเซนต์แพทริกมีหลายอย่าง ได้แก่ เลปพราคอน ซึ่งมีลักษณะคล้ายตัวเอลฟ์ในเทพนิยาย เนื้อเค็มและผักกะหล่ำ อาหารดั้งเดิมของชาวไอริช และ สัญลักษณ์ที่ทุกคนจดจำได้มากที่สุด คือ ใบแชมรอก ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้โบราณของไอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นใบไม้สีเขียว 3 แฉก สื่อถึงพระเจ้าศักสิทธิ์ 3 องค์ อันได้แก่ พระบิดา พระบุตร และ พระจิต โดยเชื่อว่าหากผู้ใดพกใบแชมร็อกติดตัว ผู้นั้นจะประสบความโชคดี 

ทั้งนี้ วันเซนต์แพทริก จะตรงกับวันที่ 17 มีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่นักบุญเซนต์แพทริก หรือ นักบุญผู้ปกป้องคุ้มครองไอร์แลนด์ สิ้นชีพ โดยประเทศไอร์แลนด์จัดให้เป็นวันหยุดทางศาสนาเช่นเดียวกับบรรดาโบสถ์ในนิกายโรมันคาทอลิกที่กำหนดให้เป็นวันเฉลิมฉลองนักบุญ ซึ่งใกล้เคียงกับวันเริ่มต้นถือศีลอดของชาวคริสต์พอดี 

cr: ครอบครัวข่าว3
  


ฟลอเรนซ์ (อังกฤษFlorence) หรือ ฟีเรนเซ (อิตาลีFirenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี

ระหว่าง ค.ศ. 1865 ถึง ค.ศ. 1870 ฟลอเรนซ์ก็เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิตาลี ฟลอเรนซ์ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอาร์โน มีประชากรประมาณ 400,000 คนและอีก 200,000 คนในบริเวณปริมณฑล ฟลอเรนซ์ในยุคกลางเป็นศูนย์กลางทางการค้าและทางการเงิน และถือกันว่าเป็นที่เกิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ตระกูลที่มีอำนาจการปกครองฟลอเรนซ์เป็นเวลานานคือตระกูลเมดีชี (Medici) นอกจากนั้นฟลอเรนซ์ก็ยังมีชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ในยุคกลางฟลอเรนซ์เป็นที่รู้จักกันในนามว่าเอเธนส์

ใจกลางเมืองเก่าของฟลอเรนซ์ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525)




ชิคาโก (Chicago; คำอ่านเกี่ยวกับเสียงนี้ ʃɪˈkɑːgoʊ ) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิสเมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน

ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา

ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศัย

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558




ประตูบรันเดนบูร์ก (เยอรมันBrandenburger Tor) เป็นอดีตประตูเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นประตูชัยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก (Neoclassical) และปัจจุบันถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีใน กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ประตูบรันเดนบูร์กตั้งอยู่ฝั่งตะวันของใจกลางกรุงเบอร์ลินบริเวณชุมทางระหว่างถนนหลวงอุนเทอร์ เดน ลินเดน (Unter den Linden) กับถนนอีบัทสทราสเซ่ (Ebertstraße) และอยู่ทางทิศตะวันตกของจัตุรัสพาริเซอร์ (Pariser Platz) ห่างประตูออกไปทางเหนือหนึ่งบล็อก เป็นที่ตั้งของ อาคารรัฐสภาไรซ์สตาก ประตูแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ของทางเข้าสู่ถนนอุนเทอร์ เดน ลินเดน ซึ่งเป็นถนนหลวงที่มีชื่อเสียงมาจากต้นลินเดน (บางที่เรียกต้นทิเลีย หรือต้นไลม์) ซึ่งเป็นถนนที่ตรงไปสู่พระราชวังเมือง (Stadtschloss/Berlin City Palace) ของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรปรัสเซีย(Prussia) พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงมีรับสั่งให้สร้างประตูบรันเดนบูร์กเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2331 ถึงปี 2334 โดยนายคาร์ล ก็อทท์ฮาร์ด แลงฮานส์ แล้วได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาประตูบรันเดนเบิร์กก็ได้รับการบูรณะจนเสร็จสิ้นในช่วงปีพุทธศักราช 2543 ถึง 2545 โดยมูลนิธิอนุรักษ์อนุสาวรีย์เบอร์ลิน (Stiftung Denkmalschutz Berlin)ในช่วงหลังสงครามที่ได้แบ่งประเทศเยอรมนีออกเป็นสองส่วน ประตูบรันเดนบูร์กตั้งอยู่ในเยอรมนีตะวันออก และได้แยกออกจากเยอรมนีตะวันตก ซึ่งมีกำแพงเบอร์ลินกั้นไว้ และบริเวณโดยรอบประตูถือว่าเป็นจุดเด่นที่เด่นชัดที่สุดในการคุ้มครองสื่อในการเผยแพร่การเปิดผนังกำแพงในปีพุทธศักราช 2532 ตั้งแต่มีการสร้างประตู บ่อยครั้งเกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเยอรมนีในบริเวณประตูบรันเดนบูร์ก และวันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความปั่นป่วนในประวัติศาสตร์ยุโรป แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพและสันติภาพของยุโรปด้วย


 กำแพงเบอร์ลินเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันตก กับเยอรมนีตะวันออกที่โอบอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนถูกทลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
ในเยอรมนีตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็นนั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ

นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 137 ถึง 206 คน

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558



ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน

หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย

ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่มล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แมม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมาเลย์ ชาวอินเดียและชาวยูเรเซีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลางและภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ

ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน กอปรกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558







Cappadocia Hot-Air Balloon

ที่ตอนกลางของประเทศตุรกีก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่นักบอลลูนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะบริเวณแคปพาโดเชียมีภูมิประเทศที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ยิ่งเมื่อตัดกับสีสันสดใสของบอลลูนที่ลอยอยู่บนฟ้า ยิ่งทำให้ทุกอย่างดูสมบูรณ์แบบ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาใช้บริการทัวร์ด้วยบอลลูนตั้งแต่เช้าตรู่ได้ในช่วงเดือนเมษายน - ตุลาคมของทุกปี
       cr.dek-d



แมนแฮตตัน (อังกฤษManhattan) เป็นหนึ่งใน 5 โบโรฮ์ของนิวยอร์กซิตี้ ตั้งอยู่บนเกาะแมนแฮตตันที่ปากแม่น้ำฮัดสัน ประกอบไปด้วยเกาะแมนแฮตตันและเกาะเล็กๆที่อยู่ติดกัน คือ เกาะรูสเวลต์(Roosevelt Island), เกาะเรนเดลล์ส (Randall's Island), เกาะวาร์ด (Wards Island),เกาะกอฟเวิร์นเนอร์ส (Governors Island), เกาะลิเบอร์ตี (Liberty Island), เกาะเอลลิส , เกาะอู ถั่น (U Thant Island) รวมถึงมาร์เบิลฮิลล์ แมนแฮตตันมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 จาก 5 โบโรฮ์ของนิวยอร์กซิตี้ นิวยอร์กซิตี้ส่วนดั้งเดิมนั้นมีจุดเริ่มต้นจากส่วนล่างของแมนแฮตตัน จากนั้นในปี ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) เมืองก็ขยายตัวขึ้น ถึงแม้ว่าแมนแฮตตันจะเป็นส่วนที่เล็กมากที่สุด แต่ก็เป็นส่วนที่มีความเจริญมากที่สุด บริเวณนิวยอร์กซิตี้นั้นเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในสหรัฐอเมริกา และหนาแน่นสุดในโลกแห่งหนึ่ง ด้วยจำนวนประชากร 1,634,795 คน[ในปี ค.ศ.2008 (พ.ศ. 2551) บนพื้นที่ 22.96 ตารางไมล์ (59.47 ตารางกิโลเมตร) หรือคิดว่า 72,201 คนต่อตารางไมล์ (27,485 คนต่อตารางกิโลเมตร) อีกทั้งเป็นหนึ่งในเขตที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา รายได้เฉลี่ยต่อปีต่อคนสูงกว่า $100,000 (หรือประมาณ 3,500,000 บาท)

แมนแฮตตันเป็นแหล่งศูนย์กลางธุรกิจ วัฒนธรรม การเงิน ที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) บนถนนวอลล์สตรีทและตลาดหลักทรัพย์แนสแด็กซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินในโลก เป็นที่ตั้งของสื่อหลายๆแขนงไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ และบริษัทสื่อต่างๆ ล้วนตั้งอยู่ที่นี่ทั้งสิ้น แมนแฮตตันมีแลนด์มาร์กที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง รวมถึงพิพิธภัณฑ์และมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ





สะพานบรูคลิน (อังกฤษ: Brooklyn Bridge) สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1883 เคยเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสะพานแขวนที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีความยาว 1825 เมตร ทอดข้ามแม่น้ำอีสต์ เชื่อมระหว่างนิวยอร์กซิตี แมนฮัตตัน และบรูคลิ

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558




แคปพาโดเชีย (กรีกΚαππαδοκία กัปปาโดเกียอังกฤษCappadocia /kæpəˈdʃə/) แผลงมาจากคำในภาษากรีก “Καππαδοκία” (Kappadokía) คือภูมิภาคตอนกลางของประเทศตุรกีที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเนฟชีร์

“แคปพาโดเชีย” เป็นชื่อที่ปรากฏตลอดมาในประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนาและเป็นชื่อที่ใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงบริเวณที่เป็นที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว ในบริบทของภูมิภาคอันมีความน่าตื่นตาตื่นใจทางธรรมชาติ โดยเฉพาะภูมิสัณฐานที่มีลักษณะเป็นแท่งๆ คล้ายหอปล่องไฟ หรือ เห็ด (ปล่องไฟธรรมชาติ (fairy chimney)) และประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคอานาโตเลีย

ในสมัยของเฮโรโดทัส กลุ่มชาติพันธุ์แคปพาโดเชียกล่าวว่าเป็นผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคตั้งแต่ภูเขาทอรัสไปจนถึงบริเวณยูซีน (ทะเลดำ) ฉะนั้นแคปพาโดเชียในกรณีนี้จึงมีบริเวณทางตอนใต้จรดเทือกเขาทอรัส ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติที่แยกจากซิลิเคีย, ทางตะวันออกโดยแม่น้ำยูเฟรทีสตอนเหนือและ ที่ราบสูงอาร์มีเนีย, ทางตอนเหนือโดยภูมิภาคพอนทัส และทางตะวันตกโดยภูมิภาคไลเคาเนีย และ กาเลเชียตะวันออก