วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


โสม เป็นพืชสมุนไพรโบราณ มีหลากหลายสายพันธุ์แตกต่างกันไปตามแต่สถานที่เพาะปลูก เช่น โสมจีน โสมเกาหลี และโสมอเมริกา แรกเริ่มเดิมทีนั้นการใช้โสมถูกบันทึกไว้ในตำรับยาแพทย์แผนจีนหลายพันปีก่อน เชื่อกันว่าโสมในยุคแรกที่มีการนำมาใช้คือโสมป่า ที่ขุดได้จากทางตอนเหนือของจีน มีรูปร่างของรากคล้ายกับคน(หยิ่งเซียม) และมีการใช้โสมแพร่หลายออกไปยังเกาหลี โสมเกาหลี(โสมกอรียอ) และอีกหลากสายพันธุ์จากฝั่งอเมริกา ในสมัยก่อนโสมนั้นมีราคาแพงมาก เนื่องจากโสมป่านั้นเป็นของหายาก
โสมเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกยาก ต้องปลูกในที่ๆมีอากาศเย็นสม่ำเสมอ ไกลจากทะเล และดินและน้ำไม่มีมลพิษ มีรากลึกประมาณ 1ฟุต ลำต้นสูงประมาณ 1เมตร โสมทางฝั่งเอเชียนิยมเพาะปลูกกันทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ส่วนโสมอเมริกาจะมาจากวิสคอนซิน หรือแคนาดา ปัจจุบันมีการเพาะปลูกโสมกันในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากโสมป่าเป็นของที่หายากแล้ว
เรานิยมนำโสมมาใช้เฉพาะส่วนของรากที่อยู่ลงไปใต้ดิน โสมที่ขุดนำมาใช้ได้นั้นจะมีอายุตั้งแต่ 3 - 6 ปี จะเป็นโสมที่ถือว่ามีตัวยาที่สำคัญมากที่สุด โดยโสมแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
  • โสมขาว คือโสมสดที่ขุดขึ้นมาจากดิน ล้างทำความสะอาด สามารถนำไปใช้ได้ทันที อาจนำไปตากแห้งให้น้ำระเหยออกไปเพื่อให้เก็บรักษาไว้ใช้ได้นานขึ้น ใช้เป็นส่วนผสมของยาจีนและทำอาหารได้
  • โสมแดง คือโสมขาวที่นำไปผ่านวิธีการอบ เพื่อให้มีสรรพคุณทางยามากขึ้น ลักษณะของรากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง และมีความชื้นเล็กน้อย โสมแดงนี้ถือว่ามีคุณค่าทางยามากที่สุดและราคาแพง
ส่วนโสมในปัจจุบันที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น จะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้จากการนำโสมแดงและโสมขาวมาทำ เช่น โสมสกัด โสมเม็ด โสมผง หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง

สะระแหน่ หรือ (อังกฤษKitchen Mint) เป็นพืชสมุนไพรยืนต้น และเป็นพืชในตระกูลมิ้นต์ วงศ์กะเพรา มีแหล่งกำเนิดมาจากแถบยุโรปตอนใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70 - 150 เซนติเมตร ส่วนใบจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว และทุก ๆ ปลายฤดูร้อนต้นสะระแหน่จะออกดอกสีขาว ๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำหอมและน้ำหวาน อยู่ภายใน นี้ดึงดูดใจให้ผึ้งมาดูดน้ำหวานและจากเหตุนี้ทำให้สะระแหน่อยู่ในสกุลเมลิสซา (Melissa: ภาษากรีกแปลว่าน้ำผึ้ง) และยังมีรสชาติคล้ายคลึงกับ ตะไคร้หอมมะนาว และแอลกอฮอล์

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557




สตรอว์เบอร์รี (อังกฤษstrawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก
รูปลักษณะ
เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  • พื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป
  • พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
  • พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
ฤดูกาล
  • เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
  • เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป
สารอาหาร
 


เมอแร็งก์ (ฝรั่งเศสmeringue) เป็นขนมสวิสและฝรั่งเศสชนิดหนึ่ง ทำจากไข่ขาวที่ตีกับน้ำตาลป่นจนขึ้นฟู และเติมตัวช่วยขึ้นรูป เช่น ครีมออฟทาร์ทาร์ แป้งข้าวโพด เป็นต้น ในบางสูตร บ่อยครั้งมีการเติมกลิ่นวานิลลา อัลมอนด์ และมะพร้าวลงไปด้วย มีลักษณะคือเบาฟูและหวานอย่างมาก
ความเชื่อที่ว่าเมอแร็งก์มีต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองไมริงเงิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพ่อครัวชาวอิตาลีชื่อกัสปารีนี นั้นที่จริงแล้วยังไม่แน่ชัดนัก แต่สิ่งที่แน่นอนคือชื่อของเมอแรงก์ได้ปรากฏอยู่ในตำราอาหารของ Massialot ในปี ค.ศ. 1692คำว่าเมอแร็งก์ปรากฏในภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี ค.ศ. 1706 เมื่อหนังสือของ Massialot เล่มนั้นถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ
เมอเเร็งก์ประเภทต่างๆ
  • เมอแร็งก์แบบฝรั่งเศส ถือได้ว่าเป็นแบบคลาสสิก เป็นเมอแร็งก์ที่แห้งและเบา
  • เมอแร็งก์แบบอิตาลี ใช้น้ำเชื่อมร้อน ๆ แทนน้ำตาลป่น โดยค่อย ๆ ตีผสมเข้ากับไข่ขาวจนแข็ง ทำให้ได้เมอแร็งก์ที่ค่อนข้างนิ่มและอยู่ตัว นำไปใช้กับขนมอบหลายอย่าง เช่นพาย baked alaska หรือปาดลงบนถาดและนำไปอบได้โดยไม่ยุบตัว เมอแร็งก์ชนิดนี้ไม่ต้องนำไปผ่านความร้อนเพื่อให้ไข่สุกอีกครั้ง
  • เมอแร็งก์แบบสวิตเซอร์แลนด์ ตีเหนือหม้อน้ำร้อน ให้ไข่ขาวอุ่นและน้ำตาลละลาย ยกลงจากเตาและตีต่อไปเรื่อย ๆ จนเย็นแล้วจึงนำไปอบ เมอแร็งก์แบบนี้มักถูกนำไปใช้เป็นฐานของพาฟโลวาเมื่อตีไข่ขาว พันธะไฮโดรเจนในโปรตีนจะแตกตัว ทำให้โครงสร้างโปรตีนแผ่ขยาย ส่งผลต่อความหนาแน่นของเมอแร็งก์ กระบวนการตีไข่ขาวแบ่งออกได้เป็นสามขั้น ตามการขึ้นรูปและคงตัว ได้แก่ ตั้งยอดอ่อน ปานกลาง และตั้งยอดแข็ง