วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ
ชาแบ่งหยาบ ๆ ได้ 6 ประเภท ได้แก่ ชาขาว ชาเหลือง ชาเขียว ชาอูหลง ชาดำ และชาผูเอ่อร์ ชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป
ชา สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังนี้ต่อไปนี้
  • ชาขาว: ตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม เมื่อชงชาแล้วจะได้ครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน
  • ชาเหลือง: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
  • ชาเขียว: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียวอ่อน
  • ชาแดง: ใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง
  • ชาอูหลง: ใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย เรียกได้ว่าเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ 
  • ชาดำ: ใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้มีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ
  • ชาหมัก: ชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี


สวนลอยบาบิโลน (อังกฤษHanging Gardens of Babylon) จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี สวนนี้ได้พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลังศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช


เรือประจัญบานมูซาชิ (ญี่ปุ่น武蔵 ?) เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นเรือธงแห่งกองเรือผสม ได้รับการตั้งชื่อตามจังหวัดมูซาชิซึ่งเป็นชื่อจังหวัดในสมัยโบราณของญี่ปุ่น เป็นเรือลำที่สองในชั้นยามาโตะต่อจากเรือประจัญบานยามาโตะ เป็นเรือที่หนักและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 72,800 ตันและติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460 มม.ถึง 9 กระบอก
เรือสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1938–1941 และขึ้นระวางอย่างเป็นทางการในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1942 มูซาชิทำหน้าที่เป็นเรือธงของพลเรือเอกอิโซรกคุ ยามาโมโต้และมินีชิ โคะงะ (Mineichi Koga) ในปี ค.ศ. 1943 ตลอดปี ค.ศ. 1943 มูซาชิจอดทอดสมออยู่ในฐานทัพเรือที่ทรูก คุเระ และบรูไน แห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นอยู่กับการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ มูซาชิอับปางเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1944 โดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินในระหว่างยุทธนาวีอ่าวเลย์เต

ฮายาโซฟีอา (อังกฤษHagia Sophia), อายาโซเฟีย (ตุรกีAyasofya), ฮากีอาโซพีอา (กรีกโบราณἉγία Σοφία) หรือ ซางก์ตาซาปีเอนเตีย (ละตินSancta Sapientia) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์ทอดอกซ์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง[1] จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮายาโซฟีอาเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งอาสนวิหารเซบียาสร้างเสร็จในปี 1520

สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี
ในปี 1453 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันพิชิตจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นสุเหร่า เช่นย้ายระฆัง แท่นบูชา รูปปั้นต่าง ๆ ออก และสร้างสัญลักษณ์ทางอิสลาม เช่นเสามินาเรต แทน สุเหร่าโซฟีอาเป็นสุเหร่าหลักของอิสตันบูลมากว่า 500 ปี และเป็นต้นแบบของสุเหร่าออตโตมันอีกหลายแห่ง เช่นสุเหร่าสุลต่านอาเหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน), สุเหร่าเซห์ซาเด, สุเหร่าซือเลย์มานิเย และสุเหร่ารืสเตม ปาชา ในปี 1935 ฮายาโซฟีอาก็ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โดยรัฐบาลตุรกีจนถึงปัจจุบัน
อีกชื่อหนึ่งของฮายาโซฟีอาคือเซนต์โซฟีอา ซึ่งมาจากชื่อเต็มในภาษากรีก "Ναός τῆς Ἁγίας τοῦ Θεοῦ Σοφίας" แปลว่า โบสถ์แห่งปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยคำว่า "โซฟีอา" มาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า "ปัญญา" จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักบุญที่ชื่อโซฟีอาแต่อย่างใด